พลาสติก .. อันตรายใกล้ตัวคุณ

การบริโภคอาหารที่บรรจุภาชนะพลาสติก อาจทำให้เกิดอันตรายได้ด้วยสาเหตุใดบ้าง ?

ประการแรกต้องเข้าใจ 2 เรื่อง

1. พลาสติกที่ใช้บรรจุอาหาร หมายถึง พลาสติกที่บรรจุ , ห่อหุ้ม หรือสัมผัสอาหาร

2. พลาสติกเป็น Polymer ที่ได้จากการนำ Monomer มาเชื่อมกันเป็นสาร โมเลกุลใหญ่ โดยวิธีทางเคมี และเติมสารลงไปเพื่อให้เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น

ดังนั้นสิ่งที่จะละลายออกมาในอาหารก็มี 2 อย่าง

1. monomer ที่ใช้ทำพลาสติกนั้นสามารถจะเป็นสารอันตราย และทำให้เกิดมะเร็งได้ เช่น VCM Stylene monomer เป็นต้น

2. สารเติมแต่ง

2.1 สาร PlasticiZer ที่ทำให้เกิดมะเร็ง เช่น กลุ่มฟอสเฟต, กลุ่ม Talate

2.2 Antioxidant ช่วยป้องกันพลาสติกเสื่อมสภาพ เช่น phenol, Bis-phenol

2.3 สีซึ่งจะมี Pb และ Cd เป็นส่วนประกอบสำคัญ ก็จะมี Pb , Cd

มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข จะกำหนดมาตรฐานพลาสติกที่ใช้กับอาหารไว้ 2 ลักษณะ

1. ตัวเนื้อพลาสติกต้องมีคุณภาพมาตรฐาน

2.การละลายของสารเคมีต่าง ๆ ในพลาสติกต้องไม่เกินมาตรฐาน

ปัจจุบันมีการนำพลาสติกชนิดต่างๆ ตลอดจนโฟมมาใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นภาชนะที่สามารถเลือกใช้ได้ ตามความต้องการ มีรูปทรงหลากหลาย เช่นเดียวกับโฟม และแผ่นฟิล์มใส ที่นำมาใช้บรรจุอาหารสด ผักสด อาหารพร้อมปรุง และอาหารปรุงสำเร็จ โดยมีวัตถุประสงค์ ช่วยถนอมอาหารให้สด และคงสภาพอยู่ได้นาน สะดวกในการวางจำหน่าย และหยิบจับ มากกว่าภาชนะอื่น

ทั้งพลาสติก โฟม และแผ่นฟิล์มใส ล้วนทำมาจากส่วนประกอบของพลาสติก ที่แตกต่างกัน ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ต่างกัน ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ตามวัตถุดิบที่ใช้ เช่น พลาสติกชนิด PP film (Polypropylene) ใช้ทำถุงความร้อน สามารถบรรจุอาหารร้อน หรือใช้กับเตาไมโครเวฟได้ หรือ PE film (Polyethylene) สามารถทนกรดด่างได้ดี เป็นฉนวนไฟฟ้า ทนความเย็นได้ดี แต่ทนความร้อนได้ไม่เกิน 70ºC เหมาะจะใช้บรรจุอาหารแช่แข็ง ส่วน PS film (Polystyrene) มีความแข็งแรง เหนียว สามารถให้ก๊าซซึมผ่านได้ดีที่สุด เหมาะสำหรับใช้บรรจุอาหารสด ผักสด และใช้ได้กับถาดโฟม แต่ไม่ควรใช้กับอาหารร้อนเกิน 70ºC

ปัญหาเกี่ยวกับอันตรายของพลาสติกโฟม และแผ่นฟิล์มใส ก็คือ การนำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือนำมาใช้ซ้ำ ซึ่งทำให้เกิดอันตราย หากนำไปบรรจุอาหาร สารเคมีจากพลาสติก อาจละลายปนเปื้อนลงสู่อาหารได้ นอกจากนี้ การกำจัดไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การป้องกันหรือแก้ปัญหาอันตรายจากสารเคมี ในพลาสติก โฟม และแผ่นฟิล์มใสบรรจุอาหาร สามารถทำได้โดย

1.การเลือกใช้พลาสติกที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน

2.พลาสติกที่ใช้บรรจุอาหาร ต้องไม่มีสี สะอาด ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร และไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

3.ไม่นำพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง กลับมาใช้ใหม่

4.ไม่น้ำพลาสติกที่ใช้บรรจุปุ๋ย วัตถุมีพิษ สารเคมีที่เป็นอันตรายมาใช้บรรจุอาหาร / น้ำดื่ม
ไม่นำพลาสติกที่เคยใช้แล้ว กลับมาใช้ใหม่

ข้อมูลจาก : กองสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย