การใช้ลูกเหม็น เพื่อดับกลิ่น และป้องกันแมลงอาจมีประโยชน์ แต่การสูดดมลูกเหม็นบ่อย ๆ มีโอกาสพบอันตรายมาก โดย ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขา ธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าปัจจุบันแนพทาลีน หรือ ลูกเหม็น ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง ใช้สำหรับใส่ในตู้เสื้อผ้า เพื่อป้องกันแมลงกัดกินเสื้อผ้า หรือใช้เพื่อดับกลิ่นในห้องน้ำ ซึ่งมี ทั้งชนิดก้อน ชนิดเม็ด และชนิดผลึก ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีแนพทาลีนเป็นส่วนประกอบมากกว่าร้อยละ 99 ซึ่งแนพทาลีนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายจะได้รับจากการหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง หรือผ่านทางเสื้อผ้า หรือผ้าห่มที่มีการใช้ลูกเหม็น แนพทาลีนจะทำให้ระคายเคืองตา จมูก คอและผิวหนัง หากได้รับเข้าไปมากส่งผลให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย เกิดโลหิตจาง
อย่างไรก็ตามพบว่าทารก เด็ก สตรีมีครรภ์ และคนที่มีระดับเม็ดเลือดแดงต่ำ หรือมีเอ็นไซม์บางชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนโลหิตต่ำมาตั้งแต่เกิด เมื่อได้รับแนพทาลีน จะเกิดโรคโลหิตจางได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบว่าแนพทาลีนที่ตกค้างในร่างกายของแม่สามารถส่งผ่านไปยังลูก ซึ่งการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ทำให้ลูกโลหิตจางด้วย อาการเบื้องต้นคือเหนื่อยล้า ผิวหนังซีด ไม่อยากอาหาร
“เพื่อความปลอดภัยของลูกหลานและผู้บริโภค ควรเก็บลูกเหม็นหรือก้อนดับกลิ่นให้พ้นมือเด็ก เก็บในตู้ที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันการรั่วไหลของไอระเหยของแนพทาลีนสู่อากาศ และก่อนใช้เสื้อผ้าหรือผ้าห่มที่มีการใช้ลูกเหม็นให้นำไปตากแดด หรือผึ่งลมก่อน เพื่อกำจัดกลิ่นและไอระเหยของแนพทาลีนที่ตกค้างบนเสื้อผ้า นอกจากนี้ขอให้หลีกเลี่ยงการใช้ลูกเหม็นกับเสื้อผ้าหรือผ้าห่มของเด็กและทารก ลดการใช้ปริมาณก้อนดับกลิ่น”
อันตรายจากลูกเหม็น
ป้ายกำกับ:
อันตรายจากลูกเหม็น